ประเพณีประจำปี เทศบาลตำบลนาดินดำ
(ฮีตสิบสองคลองสิบสี่)
1 | บุญข้าวกรรม | เป็นพิธีสำหรับพระภิกษุสงฆ์ เพื่อการปฏิบัติขององค์ท่านให้พ้นจากอาบัติกิเลสต่าง ๆ มีการให้ทานรักษาศีล ภาวนาและแผ่เมตตากำหนดเวลาทำพิธีกันข้นในเดือนอ้าย |
2 | บุญคูนลาน | กำหนดพิธีในระหว่างเดือนยี่ เมื่อนวดข้าวในลานเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็จะเป็นทำบุญให้ทานเพื่อความเป็น ศิริมงคลแก่ตนเอง และครอบครัวและหมู่บ้านก่อนที่จะบรรทุกข้าวเปลือกมาใส่ไว้ในยุ้งหรือฉางข้าวต่อไป |
3 | บุญข้าวจี่ | กำหนดพิธีกันในกลางเดือน 3 เฉพาะ “ข้าวจี่” ก็คือข้าวเหนียวสุกนึ่งสุกแล้วมาปั้นเป็นก้อนอาจมีการทาไข่เพื่อ เพิ่มความหอมแล้วอัง หรือจี่ไฟ ให้สุกอีกทีนึง ชาวบานจะรวมตัวกันทำที่หมู่บ้านหรือตามบ้านหรือไปรวมกัน ทำที่วัดเสร็จแล้ว นำถวายให้พระภิกษุหรือสามเณร ได้ขบฉันพร้อมกับอาหารคาวหวานอื่นๆ |
4 | บุญพระเวส หรือ บุญมหาชาติ | มีการฟังเทศน์เรื่องพระเวสสันดรชาดก ถือว่าเป็นการทำบุญมหากุศลที่ยิ่งใหญ่ พุทธศาสนิกชนไปร่วมทำบุญกัน ที่วัดกันอย่างมากมายงานบุญดังกล่าวนิยมทำกัน ระหว่างเดือน 4 |
5 | บุญสรงน้ำ | กำหนดพิธีกันในเดือน 5 โดยตักน้ำเย็นที่ใสสะอาดประพระด้วยน้ำหอมเจือแล้วนำไปสรงพระพุทธรูป พระภิกษุสงฆ์ สามเณร และผู้หลักผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ คือเริ่มตั้งแต่ 15 ค่ำ เดือน 5 ไปถึง 15 ค่ำ เดือน 6 ความมุ่งหมายก็เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง อนึ่งการกุศลอื่น ๆ เนื่องในบุญสรงน้ำก็มีการก่อพระเจดีย์ ทราย การปล่อยนกปล่อยปลา หรือสัตว์ที่มีชีวิต มีพิธีทำบุญเลี้ยงพระเพล เสร็จแล้วมีการเล่นฟ้อนรำขับร้อง และสาดน้ำกันเป็นที่สนุกสนาน |
6 | บุญบั้งไฟ | กำหนดพิธีขึ้นในระหว่างเดือน 6 เรียกอีกอย่างว่าบุญก็ได้ ความมุ่งหมายคือ ทำบุญกุศลที่วัดเสร็จแล้ว ตอนบ่าย ก็จะมีพิธีจุดบั้งไฟเพื่อเป็นการบวงสรวงพระยาแถนเทวดาบนท้องฟ้า บันดาลให้ฝนตก เพื่อชาวนาจะได้ทำนา ในฤดุต่อไป |
7 | บุญซำฮะ คำว่า ซำ ฮะ ก็คือ ชำระ | ความหมายว่าต้องการชำระสิ่งที่รกรุงรังให้หมดมลทินเครื่องเศร้าหมองต่าง ๆ โดยเฉพาะผ้านุ่ง ผ้าห่ม เครื่องใช้ที่สกปรกต้องซักฟอกชำระให้สะอาดด้วยการทำบุญให้ทาน |
8 | บุญเข้าพรรรษา | พุทธศาสนิกชนจะไปร่วมทำบุญเยี่ยงประเพณีที่วัดมีเครื่องถวายสักการะที่สำคัญ ก็คือ การหล่อเทียนพรรษา โดยการสลักเทียนเป็นลวดลายตกแต่งประดับประดาอย่างสวยงามเพื่อประกวดประชันกัน โดยแต่ละแห่ง ๆ จัดขบวนแห่ขึ้นแล้วตรงไปยังวัดกำหนดตรงกับวันเพ็ญ |
9 | บุญข้าวประดับดิน | กำหนดพฺิธีในวันแรม 14 ค่ำเดือน 9 ที่เรียกันว่า ข้าวประดับดิน ก็โดยการนำเอาข้าวห่อ ขนมหวาน และหมากพลู บุหรี่ นำไปวางไว้บนพื้นดินตามที่ต่าง ไ เป็นการทำบุญอุทิศให้แก่ญาติพี่น้องที่ตายไปแล้ว |
10 | บุญข้าวสาก | คำว่า ข้าวสาก ก็คือ ข้าวสลาก นั่นเอง พิธีนี้กระทำกันในวันขึ้น 15 ขึ้น เดือน 10 ชาวบ้านได้นำข้าวต้ม ขนม เลี้ยงดูแจกจ่ายกันในตอนเพลของวันนี้ ชาวบ้านได้นำสำรับกับข้าวและเครื่องไทยทานเพื่อนำเข้าไป ถวายพระภิกษุในวัด เขียนสลากบอกชื่อเจ้าของสำรับกับข้าวแล้วนำลงใส่บาตร พร้อมกับนิมนต์ให้ พระภิกษุ ตลอดจนสามเณรเป็นผู้จับสลาก พระภิกษุองค์ใดถูกสลากของใครก็จะได้รับกับข้าวและเครื่องไทยทานของผู้นั้น |
11 | บุญออกพรรษา | ในวันนี้ก็เป็นโอกาสของชาวพุทธศาสนิกชนจะได้แสดง ความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาครั้งใหญ่ ชาวบ้านและพระสงฆ์ตลอดจน สามเณรจะช่วยกันจัดทำได้ประทีปขึ้นในวัดตรงหน้า พระอุโบสถ แล้วนำประทีปธูปเทียนมาจุด บูชาพระ รัตนตรัย ซึ่งตรงกับ 15 ค่ำ เดือน 11 เป็นเวลา 3 วัน 3 คืน |
12 | บุญกฐิน | ชาวบ้านได้พากันทำบุญกฐินหลังออกจาก พรรษา ซึ่งถือตามคตินิยมในทางพระพุทธศาสนา นอกจากบุญกฐินแล้วก็ยังมีบุญทอดผ้าป่า โดยเฉพาะบุญทอดผ้าป่านี้ไม่ได้กำหนดตามกาลและเวลา คือ เจ้าของหรือเจ้าภาพกำหนดทำพิธีเมื่อไรก็ได้ ประเพณีทั้ง 12 เดือนนี้ พุทธศาสนิกชนชาวภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังได้จัดพิธีทำบุญนี้ของแต่ละเดือน ๆ อย่างเคร่งครัด และถือเป็นประเพณีปฏิบัติกันเรื่อยมาจนเท่าทุกวันนี้ |