แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา
ยุทศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ โครงสร้างพื้นฐาน และเทคโนโลยีสารสนเทศ
- สำรวจข้อมูลและจัดทำทะเบียนเส้นทางและสาธารณูปโภคและสาธารณูปการอื่น ๆ ที่อยู่ในความ รับผิดชอบให้มีมาตรฐานและพร้อมที่จะดำเนินการสำรวจตรวจสอบเพื่อการวางแผนพัฒนาและจัดสรรงบประมาณในการก่อสร้างและปรับปรุงซ่อมแซม
- มีการจัดสาธารณูปโภค สาธารณูปการและโครงสร้างพื้นฐานครบถ้วนเพียงพอต่อความต้องการ อาทิ ถนน แหล่งน้ำไฟฟ้า น้ำประปา โทรศัพท์ รางระบายน้ำ ฯลฯ
- มีการจัดสวนสาธารณะ และแหล่งนันทนาการของชุมชนที่ดีและเพียงพอที่จะให้บริการต่อชุมชน
- จัดทำและวางระบบผังเมืองรวม เพื่อรองรับการขยายตัวของชุมชนในอนาคต
- พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในหน่วยงาน อปท. เพื่อความรวดเร็วในการปฏิบัติงานและการบริการ
- อบรมบุคลากรในหน่วยงานในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
- จัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเป็นศูนย์กลางในการนำเสนอข้อมูลของหมู่บ้านในเทศบาลตำบลนาดินดำ
- พัฒนาระบบการติดต่อสื่อสารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนา คน สังคม คุณภาพชีวิต เศรษฐกิจพอเพียง และเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน
- ส่งเสริมให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีครอบครัวอบอุ่น
- สนับสนุนการแก้ไขปัญหายาเสพติด และพัฒนาประสิทธิภาพเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
- ส่งเสริมให้ประชาชนมีระเบียบวินัย ปฏิบัติตามกฎหมาย
- ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน และทุกภาคส่วนในสังคมในการแก้ไขปัญหาของชุมชน สังคมโดยใช้กระบวนการประชาคม
- ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินชีวิตของประชาชนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
- พัฒนาเครือข่ายความร่วมมือในในการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนโดยกระบวนการแผนชุมชน
- สนับสนุนการแก้ไขปัญหาเด็ก เยาวชน และผู้สูงอายุ
- ส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันกรณีมีการระบาดของโรคติดต่อต่าง ๆ เช่น โรคไข้หวัดนก โรคไข้เลือดออก โรคเอดส์ โรคฉี่หนู ฯลฯ
- ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดี และได้รับสวัสดิการทางสังคมเท่าเทียมกัน
- ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดี และได้รับสวัสดิการทางสังคมเท่าเทียมกัน
- ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรลดการใช้สารเคมี และยาฆ่าแมลง หันมาใช้พืชสมุนไพรแทน
- ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนบริโภคพืชผักปลอดสารพิษ
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาการเมือง การบริหารจัดการที่ดีและการให้บริการสาธารณะแก่ประชาชน
- ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชน และภาคีต่าง ๆ ในกระบวนการการพัฒนาท้องถิ่น
- รณรงค์ส่งเสริมการให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับการเมืองท้องถิ่นทุกรูปแบบ
- ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาประสิทธิภาพผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น ข้าราชการ พนักงานจ้าง
ในการปฏิบัติหน้าที่ราชการและการให้บริการแก่ประชาชน
- ส่งเสริมและจัดหาสวัสดิการให้แก่บุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น ด้านที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง ตามระเบียบกำหนดให้
- จัดหาเครื่องมือเครื่องใช้ให้เหมาะสมเพียงพอสำหรับการปฏิบัติงาน
- พัฒนาและปรับปรุงการจัดเก็บภาษี รวมถึงจัดทำแผนที่ภาษี เพื่อการจัดเก็บภาษีได้อย่างทั่วถึงและครอบคลุม
- การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์กิจกรรมการพัฒนาในทุก ๆ ด้านของหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและการยอมรับของประชาชน
- พัฒนาปรับปรุงการให้บริการและสิ่งอำนวยความสะดวกในการบริการประชาชน ตามหลักธรรมภิบาลและการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาด้านส่งเสริมการท่องเที่ยว และการกีฬา
- พัฒนาปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยวให้มีความสวยงามน่าเที่ยว ตลอดจนพัฒนาเส้นทางคมนาคมให้สามารถเดินทางไปยังแหล่งท่องเที่ยวได้โดยสะดวก ปลอดภัย และรวดเร็ว
- รณรงค์ประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว ทั้งแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและการท่องเที่ยวด้านวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นให้เป็นที่รู้จักแพร่หลาย
- พัฒนาและจัดตั้งศูนย์ข้อมูลบริการท่องเที่ยวตามจุดต่าง ๆ ที่สำคัญเพื่อบริการแก่นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวจังหวัดเลย ตลอดจนจัดให้มีสถานที่จำหน่ายของที่ระลึกและจำหน่ายสินค้าพื้นเมือง
- ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน ชุมชน และองค์กรต่าง ๆ ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในจังหวัดเลย
- ส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนออกกำลังกายและเล่นกีฬา
- ส่งเสริมสนับสนุนการจัดการแข่งขันกีฬา และอุปกรณ์การกีฬาต่าง ๆ
- ซ่อมแซมปรับปรุงสถานที่ออกกำลังกายให้มีสภาพที่ใช้งานได้ดี พร้อมทั้งจัดหาอุปกรณ์กีฬาให้พร้อมสำหรับบริการประชาชน
ยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาการศึกษา ศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น และภูมิปัญหาของท้องถิ่น
- ส่งเสริมการจัดตั้งสถานศึกษา การจัดการศึกษา และการให้บริการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ
- สนับสนุนการปรับปรุงห้องสมุดประชาชนให้ได้มาตรฐานมีคุณภาพ โดยนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้
- ขยายพัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้สู่ชุมชนและท้องถิ่น
- ส่งเสริมให้ชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
ศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น และภูมิปัญหาของท้องถิ่น
- ส่งเสริมการศึกษาวิชาชีพให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและท้องถิ่น
- พัฒนาและปรับปรุงศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียนให้ได้มาตรฐาน
- ส่งเสริมให้สถานศึกษา และสถานบันทางศาสนาเป็นหลักในการสอน เพื่อปลูกฝัง จริยธรรมคุณธรรมวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น
- ส่งเสริมให้มีการศึกษาศิลปะพื้นบ้าน การละเล่น ขนบธรรมเนียมประเพณีของท้องถิ่นเพื่อการอนุรักษ์
ให้คงอยู่และพัฒนาเป็นอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของท้องถิ่น
- ส่งเสริมและสนับสนุนงานที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา
- ส่งเสริมสนับสนุนงานประเพณีของท้องถิ่น และงานรัฐพิธีเนื่องในวันสำคัญต่าง ๆ
ยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาการป้องกันบรรเทาสาธารณะภัยและการจัดการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- ป้องกันและลดความเสียหายหรือผลกระทบจากสาธารณภัย
- สนับสนุนงบประมาณในการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสาธารณภัย
- ระดมสรรพกำลังทั้งภาครัฐและเอกชนในการแก้ไขปัญหาสาธารณภัยแบบมีส่วนร่วม
- จัดอบรมบุคลากรให้มีความรู้ด้านการป้องกันบรรเทาสาธารณภัยและการช่วยเหลือผู้ประสบภัย
- สนับสนุนการรวมกลุ่มของประชาชน เพื่อกิจกรรมด้านความปลอดภัยในชุมชนและเตือนภัยชุมชน
- สงวน อนุรักษ์ฟื้นฟู รักษาสภาพแวดล้อมแหล่งท่องเที่ยว โบราณสถาน และชุมชนในจังหวัดเลย ให้ ยั่งยื่น
และเอื้อประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการท่องเที่ยว
- กำหนดเขตพื้นที่เพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมตามความเหมาะสมตรงตามศักยภาพของพื้นที่
- สนับสนุนและส่งเสริมประชาชน ชุมชน และภาคเอกชนให้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- ควบคุมการกำจัดขยะมูลฝอย การบำบัดน้ำเสีย การกำจัดสารพิษจากอุตสาหกรรมและขยะติดเชื้อจากโรงพยาบาลไม่ให้มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
ยุทธศาสตร์ที่ 7 การพัฒนาเศรษฐกิจ อาชีพและรายได้
- ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดตั้งกลุ่มอาชีพ การประกอบอาชีพของประชาชนตามแนวนโยบายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้มีรายได้เพิ่มขึ้น
- การส่งเสริมด้านการแปรรูปผลผลิตการเกษตร และส่งเสริมสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์
- ส่งเสริมและสนับสนุนการค้าขายภายในท้องถิ่นและการค้าชายแดน
- จัดให้มีตลาดในการรับซื้อผลผลิตทางการเกษตร / ปศุสัตว์ / อื่น ๆ และก่อสร้างศูนย์สาธิตการตลาดจำหน่ายผลิตภัณฑ์
- พัฒนาฝีมือแรงงานเพื่อการมีงานทำ และทำงานอย่างมีศักยภาพ เอื้อต่อการเพิ่มผลผลิตและเปรียบทางการแข่งขัน
- ส่งเสริมสนับสนุนการประกอบการอุตสาหกรรมและเหมืองแร่ที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของชุมชน
- ส่งเสริมสนับสนุนงานด้านปศุสัตว์
- ยกระดับคุณภาพการผลิตและการตลาดสินค้าเกษตรให้ได้มาตรฐาน ปลอดสารพิษ
|